title

ถึงเวลา พูดเรื่องการกดปราบข้ามชาติ

ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา
มีผู้พลัดถิ่นชาวต่างชาติ
อย่างน้อย 220 คน
ถูกจับกุม
ในประเทศไทย

และใน 10 ปีเดียวกันนี้ มีผู้พลัดถิ่นชาวไทย

อย่างน้อย 9 คน
ถูกบังคับสูญหาย
ในภูมิภาคอาเซียน

และอีกมากมาย ที่ถูกใช้กำลังทำร้ายร่างกาย ถูกสอดแนมทางออนไลน์ ถูกส่งตัวกลับประเทศต้นทาง และอื่น ๆ…

นี่คือเรื่องราวที่ไม่ถูกเล่า

นี่คือการคุกคามที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั่วทั้งภูมิภาคนี้

ถึงเวลาพูดคุยเรื่อง การกดปราบข้ามชาติ (Transnational Repression)

เมื่อการข่มขู่คุกคาม ไล่ตามเราไป ทุกหนแห่ง

การกดปราบข้ามชาติ

คือกระบวนการข่มขู่คุกคาม ผู้เห็นต่างจากรัฐ ที่พลัดถิ่นออกจากประเทศของตน (เรียกว่า "ประเทศต้นทาง") ไปแสวงหาที่พักพิงในต่างแดน (เรียกว่า "ประเทศปลายทาง")

การข่มขู่คุกคามนี้ ประกอบด้วยหลาย "วิธีการ" เช่น...

การลอบสังหาร

หมายถึง การ ฆาตกรรม เป้าหมาย

การคุกคามผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

หมายถึง การข่มขู่ หรือการคุกคามทางร่างกาย ต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเป้าหมาย เช่น สมาชิกในครอบครัว ผู้ร่วมขบวนการ เพื่อสร้างความกลัวแก่เป้าหมาย

การข่มขู่ที่เสี่ยงนำไปสู่การกดปราบข้ามชาติ

หมายถึง การข่มขู่คุกคามจาก เจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่ง มีความเสี่ยง ที่จะเป็นการกดปราบข้ามชาติได้ในอนาคต

การกักขัง

หมายถึง การควบคุมตัวเป้าหมาย ใน สถานกักกัน มากกว่า 12 ชั่วโมง ตามคำขอ (Request) ของรัฐบาลประเทศต้นทาง

การคุกคามทางดิจิทัล

หมายถึง การใช้โซเชียลมีเดีย หรือ แอปพลิเคชันส่งข้อความต่าง ๆ เพื่อส่งคำคุกคามไปยังเป้าหมาย

การบังคับสูญหาย

หมายถึง การสาบสูญของเป้าหมาย โดยมีข้อสันนิษฐานว่า รัฐบาล ของประเทศต้นทางของเป้าหมาย มี ส่วนรู้เห็น ในการสูญหายนี้

การจำกัดการเดินทาง

หมายถึง การจำกัด ระงับ หรือขัดขวาง เสรีภาพในการเดินทางของเป้าหมาย เช่น การยกเลิกหนังสือเดินทาง การเพิกถอนสัญชาติ การปฏิเสธการให้บริการทางกงสุล

การทำร้ายร่างกาย

หมายถึง การใช้กำลัง เพื่อให้เป้าหมาย บาดเจ็บทางกาย โดยไม่เล็งเห็นผลให้เสียชีวิต

การลักพาตัวข้ามพรมแดน

หมายถึง การลักพาตัวเป้าหมาย กลับประเทศต้นทาง โดย ใช้กำลังและไม่ผ่านกระบวนการทางกฎหมาย หรือ ผ่านกระบวนการทางกฎหมายเพียงเล็กน้อย

การสอดแนมโดยเจ้าหน้าที่รัฐ

หมายถึง การสอดแนมความเคลื่อนไหว และ ลอบเก็บข้อมูลของเป้าหมาย โดยเจ้าหน้าที่รัฐ

การส่งตัวกลับประเทศต้นทางแบบผิดกฎหมาย

หมายถึง การบังคับส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทางที่เป้าหมายลี้ภัยออกมาโดยไม่ผ่านกระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งรวมถึงการที่เป้าหมายถูกควบคุมตัวโดยตัดขาดการสื่อสาร ไม่ได้รับโอกาสให้เข้าถึงทนายความและคัดค้านการส่งตัวนั้น

การใช้หมายแดงของตำรวจสากล

“หมายแดง (Red Notice)” หมายถึง การแจ้งไปยังประเทศที่สอง (ที่เป็นสมาชิกของ INTERPOL) เพื่อ ค้นสถานที่ และจับกุม บุคคลที่ต้องการดำเนินคดีหรือรับโทษ

"วิธีการ" ข่มขู่คุกคามเหล่านี้ ทำให้คุณนึกถึง “คดี” อะไร ในช่วงเวลาที่ผ่านมาบ้าง?

ชายไทยถูกอุ้มหายในกัมพูชา ขณะเดินทางกลับโรงแรมที่พัก

นักฟุตบอลถูกจับด้วยหมายแดง ขณะเดินทางเข้าประเทศไทย เพื่อท่องเที่ยวพักผ่อน

ผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์กว่า 100 คน ถูกส่งตัวกลับไปให้รัฐบาลจีน

พบศพชายถูกคว้านท้องยัดแท่งปูน ลอยในแม่น้ำโขง

นั่นแหละ คือ “การกดปราบ” ที่เกิดขึ้นกับผู้พลัดถิ่น ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ไหนบนโลก…

และผลกระทบก็ไม่ได้จบแค่ “ตัวเป้าหมาย” หรือแค่ “เมื่อเกิดการกดปราบ”

ผู้พลัดถิ่น ตกอยู่ภายใต้ความกลัว และครอบครัว ตกเป็นอีกเป้าของการคุกคาม

ครอบครัวของผู้พลัดถิ่น ไม่เพียงแต่ต้องแบกรับ ความสูญเสีย และ ภาระของกระบวนการยุติธรรม ในระยะยาว

มีหลายครั้งที่การกดปราบขยายผลถึงพวกเขาด้วย เช่น การถูกควบคุมตัวไปพร้อมกัน การถูกข่มขู่ถึงที่บ้าน

นั่นคือภาพสะท้อนของ สิทธิมนุษยชนสากลที่ถูกสั่นคลอน

แน่นอนว่าการกดปราบข้ามชาติ ไม่ใช่เรื่องใหม่และไกลตัว

ภูมิภาคอาเซียนของเราเอง ก็เป็นทั้ง "ประเทศต้นทาง" และ/หรือ "ประเทศปลายทาง" ของการกดปราบด้วย "วิธีการ" ต่าง ๆ อยู่บ่อยครั้ง สร้างบาดแผลนับครั้งไม่ถ้วน ต่อทั้งผู้พลัดถิ่นและครอบครัว

คิดว่าใน 10 ปี (2015-2024)  มีผู้พลัดถิ่นกี่คนที่ได้รับผลกระทบจากการกดปราบ ที่ประเทศในภูมิภาคอาเซียนเป็น "ประเทศต้นทาง" หรือ "ประเทศปลายทาง"

-

+